ประสาทชีววิทยา
2 posters
หน้า 1 จาก 1
ประสาทชีววิทยา
ประสาทชีววิทยา
เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเซลล์ชนิดต่างๆ ในระบบประสาท
และการจัดระเบียบของเซลล์เหล่านี้ให้สามารถทำงานเชื่อมต่อกันเป็นวงจร
เพื่อใช้ประมวลผลข้อมูลและการแสดงออกทางพฤติกรรม
ประสาทชีววิทยาเป็นแขนงวิชาย่อยของชีววิทยาและประสาทวิทยาศาสตร์
ประสาทชีววิทยาแตกต่างจากประสาทวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่กว้าง
และเกี่ยวข้องกับการศึกษาระบบประสาทในหลายรูปแบบ
นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาประสาทชีววิทยาเรียกว่า นักประสาทชีววิทยา (neurobiologist)
ประสาทชีววิทยาเป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ทางสมอง
ซึ่งประกอบด้วยวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ ได้แก่ ทางชีววิทยา กายภาพ การแพทย์ และจิตวิทยา
โดยวิเคราะห์ถึงกระบวนการสร้างและวิธีการทำงานของระบบประสาท
โดยเฉพาะจะเน้นถึงประเด็นหลักคือกลไกการทำงานของระบบประสาท
ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนกระบวนการของชีวิตในระบบร่างกายตามสภาพแวดล้อมของมันเอง
แนวทางการวิจัยจะเน้นในเรื่องการวิจัยสมองเป็นพิเศษ
เซลล์ประสาทหนึ่งแสนล้านตัวรวมกับเซลล์หนึ่งหมื่นตัว
สร้างเครือข่ายของจุดประสานประสาทที่ไม่เชื่อมต่อกันมากกว่าหนึ่งพันล้านตัว
ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญที่สร้างความรู้สึกตัว (การรับรู้)
การวิจัยทางชีวภาพจะศึกษาถึงพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ทางสมอง
เกี่ยวกับโมเลกุลและเซลล์ทางชีวภาพเป็นพิเศษ
นอกจากการวิจัยพื้นฐานเชิงวิเคราะห์และทดลองแล้ว ยังสามารถไขปัญหาทางการแพทย์อีกด้วย
เช่น สาเหตุและประสิทธิภาพในการรักษาโรคประสาท ได้แก่ โรคจิตเสื่อม โรคพาคินสัน และโรคสมองเสื่อม
นอกจากนั้นการเรียนสาขานี้ยังสามารถชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องทั่วไปทางวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย
เช่น จิตสำนึก ความคิด จิตวิญญาณ และอารมณ์
เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเซลล์ชนิดต่างๆ ในระบบประสาท
และการจัดระเบียบของเซลล์เหล่านี้ให้สามารถทำงานเชื่อมต่อกันเป็นวงจร
เพื่อใช้ประมวลผลข้อมูลและการแสดงออกทางพฤติกรรม
ประสาทชีววิทยาเป็นแขนงวิชาย่อยของชีววิทยาและประสาทวิทยาศาสตร์
ประสาทชีววิทยาแตกต่างจากประสาทวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่กว้าง
และเกี่ยวข้องกับการศึกษาระบบประสาทในหลายรูปแบบ
นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาประสาทชีววิทยาเรียกว่า นักประสาทชีววิทยา (neurobiologist)
ประสาทชีววิทยาเป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ทางสมอง
ซึ่งประกอบด้วยวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ ได้แก่ ทางชีววิทยา กายภาพ การแพทย์ และจิตวิทยา
โดยวิเคราะห์ถึงกระบวนการสร้างและวิธีการทำงานของระบบประสาท
โดยเฉพาะจะเน้นถึงประเด็นหลักคือกลไกการทำงานของระบบประสาท
ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนกระบวนการของชีวิตในระบบร่างกายตามสภาพแวดล้อมของมันเอง
แนวทางการวิจัยจะเน้นในเรื่องการวิจัยสมองเป็นพิเศษ
เซลล์ประสาทหนึ่งแสนล้านตัวรวมกับเซลล์หนึ่งหมื่นตัว
สร้างเครือข่ายของจุดประสานประสาทที่ไม่เชื่อมต่อกันมากกว่าหนึ่งพันล้านตัว
ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญที่สร้างความรู้สึกตัว (การรับรู้)
การวิจัยทางชีวภาพจะศึกษาถึงพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ทางสมอง
เกี่ยวกับโมเลกุลและเซลล์ทางชีวภาพเป็นพิเศษ
นอกจากการวิจัยพื้นฐานเชิงวิเคราะห์และทดลองแล้ว ยังสามารถไขปัญหาทางการแพทย์อีกด้วย
เช่น สาเหตุและประสิทธิภาพในการรักษาโรคประสาท ได้แก่ โรคจิตเสื่อม โรคพาคินสัน และโรคสมองเสื่อม
นอกจากนั้นการเรียนสาขานี้ยังสามารถชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องทั่วไปทางวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย
เช่น จิตสำนึก ความคิด จิตวิญญาณ และอารมณ์
หน้า 1 จาก 1
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ